ข้อคิด


ข้อคิดมหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ 
 ข้อคิดในกัณฑ์ทศพร
                การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์นั้น  ตั้งกัลยาณจิตอธิษฐาน เป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ และความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์มีศีลห้าเป็นต้น กล่าวคือ
 
                .   ต้องกระทำความดี
                .  ต้องรักษาความดีนั้นไว้
                .   หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น
                 
ข้อคิดในกัณฑ์หิมพานต์
                .   คนดีเกิดที่ไหนไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ทำดีหรือเปล่า   
                .   การเสียสละแบ่งปันเป็นหัวใจของการสร้างสรรค์สังคม
                .   การทำดีบางครั้งอาจมีอุปสรรค
                .   ความเห็นแก่ตัว เป็นภัยอันยิ่งใหญ่ของการอยู่ร่วมกัน
                .   การเลือกคู่ครองที่ดีให้ดูมัทรีเป็นแบบอย่าง ไม่หลงระเริงในยามสุข ไม่ละเลยคู่ทุกข์ในยามยาก

 ข้อคิดในทานกัณฑ์
               .  ยามมีเขายก ยามหมดเขาหยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขมขื่น
                .  ความรักของแม่ความห่วงใยของเมีย ยิ่งใหญ่กว่ารักและห่วงใยของใคร ๆ ในโลก
                .  เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ผู้มุ่งโพธิญาณย่อมมิหวั่นไหวต่ออุปสรรค
                .  ชีวิตเป็นอนิจจัง อย่าจริงจังจนเกินไปนัก
                .   โทษของความเป็นหม้ายในสมัยก่อน คือ ถูกสังคมดูหมิ่นเหยียดหยาม
  
ข้อคิดในกัณฑ์วนประเวศน์
.   ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นกาลเวลาที่ควรจะได้รับความเห็นใจเหลียวแลช่วยเหลือจากญาติมิตรหรือเพื่อนร่วมโลก
             .  ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามยาก ประคองในคราวลำบาก อุ้มชูในยามตกต่ำ ช่วยค้ำในยามทรุด
             .  น้ำใจของคนดี หากรู้ว่าความสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้เพราะการเสียสละของตนก็ยินดีที่จะสละโอกาสและโชคลาภอันพึงได้ให้ด้วยความเต็มใจ

 ข้อคิดในกัณฑ์ชูชก
                บุรุษจะบรรลุความสำเร็จอันสูงสุดได้   เมื่อไม่หลงในอำนาจของสตรี
               ๒ สามีแก่ทุกข์ใจเพราะได้ภรรยาสาว
                ๓.    ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุที่ไม่ใช้อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย    เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่ 


ข้อคิดในกัณฑ์จุลพน
.  มีอำนาจหากขาดสติปัญญาไตร่ตรองย่อมถูกหลอกได้ง่าย
                .  คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด แต่ความโง่ถ้าไม่เบียดเบียนใคร ย่อมดีกว่าความฉลาดที่เอาเปรียบคนอื่น
                ๓.  ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตนเอง
  
ข้อคิดในกัณฑ์มหาพน
                .  ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติหย่อนปฏิบัติตนก็พลาดท่าเสียทีได้ง่าย
                .  คนคดมักพูดหวาน คนพาลมักพูดเพราะ ต้องวิเคราะห์วินิจฉัยให้ถ้วนถี่
                .  คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย
                .  บางครั้งความสงสารอาจนำมาซึ่งความฉิบหาย หากเชื่อง่ายอาจนำมาซึ่งความทุกข์

 ข้อคิดในกัณฑ์กุมาร
                .  พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกันแต่เป็นห่วงไม่เหมือนกัน โดยห่วงหญิงมากกว่าชายเพราะหญิงปกป้องตัวเองมากกว่า 
                .  วิสัยของผู้หญิงนั้น แม้จะมากด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น แต่ไม่มีวันจะสละลูกในไส้ให้แก่ผู้ใดได้
                .   การเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ เป็นบันไดสู่ความสมหวัง
                .   ทานอันยิ่งบัณฑิตย่อมสรรเสริญ แต่ปุถุชนมักติเตียน

 ข้อคิดในกัณฑ์มัทรี
                .  รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้
                .  ลูกดีชื่นใจพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ
                .  ลูกกตัญญู ชาวโลกอนุโมทนา เทวดาชื่นชม พรหมก็สรรเสริญ

 ข้อคิดในกัณฑ์สักบรรพ
                .   การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทวดาย่อมเห็น
                .  “อยากได้ดีไม่ทำดีนั้นมีมาก ดีแต่อยากหากไม่ทำก็ขำหนอ อยากได้ดีต้องทำดีอย่ารีรอ   ดีแต่ขอรอแต่ดีไม่ดีเอย
                .   ภรรยาที่ดีพึงสนับสนุนกิจการของสามีข้อคิดในกัณฑ์มหาราช
                 คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน
                 พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต พึงสละชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้อง คือ ธรรม
                  
ข้อคิดในกัณฑ์ฉกษัตริย์
                .  จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจ   จากกันยามตายได้เห็นน้ำตา
                .  การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉาน สันติสุขย่อมเกิดแก่โลกและสังคม
                .  ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา และการรู้จักปรับปรุงแก้ไขเป็นวิสัยของบัณฑิต

 ข้อคิดในนครกัณฑ์
พระเวสสันดรเสด็จขึ้นเสวยราชย์ครองแผ่นดินทำให้ไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์มีสุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น ชาวเมืองต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิษฐานของพระเวสสันดร  ฝ่ายกษัตริย์เมืองกลิงครัฐก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืนเพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้วพระเวสสันดรก็ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมและยังคงทรงบริจาคทานเป็นเนืองนิตย์ จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษา  จึงสิ้นพระชนม์    แล้วได้อุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต